โอเมก้า 3…สารอาหารที่คนรักสุขภาพต้องรู้
สาระน่ารู้
9 กรกฎาคม 2565
โอเมก้า 3…สารอาหารที่คนรักสุขภาพต้องรู้
โอเมก้า 3 คืออะไร?
โอเมก้า 3 ชื่อนี้หลายคนคงเคยได้ยิน โดยเฉพาะโอเมก้า 3 จากปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน เป็นต้น แต่เอ...จริงๆ แล้วคนเราสามารถได้โอเมก้า 3 จากแหล่งไหนได้อีกบ้างนะ
โอเมก้า 3 เป็นชื่อของกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ซึ่งกลุ่มของโอเมก้า 3 ที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึก รวมถึงปลาทะเลและปลาน้ำจืดไทยบางชนิดนั้น เป็นกลุ่มของ อีพีเอ (EPA) และ ดีเฮสเอ (DHA) นอกจากนี้ โอเมก้า 3 ยังมีอยู่ในพืชอีกด้วย เช่น ผักใบเขียว บรอคโคลี เมล็ดวอลนัท ถั่วเหลือง รวมถึงน้ำมันถั่วเหลืองด้วย ซึ่งชื่อของโอเมก้า 3 กลุ่มนี้คือ กรดแอลฟาไลโนเลนิก หรือ กรดไลโนเลนิก (α- LNA หรือ ALA) ซึ่ง α- LNA เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ และจะได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น แต่สำหรับ EPA และ DHAร่างกายสามารถเปลี่ยนจาก α- LNA ไปเป็น EPA และ DHA ได้
ประโยชน์ของ โอเมก้า 3
การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเหมาะสม จะทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ประโยชน์ของโอเมก้า 3 มีดังนี้
Integrative Medicine Access สถาบันวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่า ร่างกายคนเราควรได้รับ α-LNA ซึ่งมีอยู่ในพืช อย่างน้อย 2,220 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วน EPA และ DHA ที่ได้จากในปลาทะเลนั้น ควรรับประทานอย่างน้อย 220 มิลลิกรัมต่อวัน หรือบริโภคปลาทะเล 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ที่มา : AHA Scientific Statement: Fish Consumption, Fish Oil, Omega-3 Fatty Acids and Cardiovascular Disease, #71-0241 Circulation. 2002;106: 2747 – 2757)
โอเมก้า 3 ชื่อนี้หลายคนคงเคยได้ยิน โดยเฉพาะโอเมก้า 3 จากปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน เป็นต้น แต่เอ...จริงๆ แล้วคนเราสามารถได้โอเมก้า 3 จากแหล่งไหนได้อีกบ้างนะ
โอเมก้า 3 เป็นชื่อของกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ซึ่งกลุ่มของโอเมก้า 3 ที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึก รวมถึงปลาทะเลและปลาน้ำจืดไทยบางชนิดนั้น เป็นกลุ่มของ อีพีเอ (EPA) และ ดีเฮสเอ (DHA) นอกจากนี้ โอเมก้า 3 ยังมีอยู่ในพืชอีกด้วย เช่น ผักใบเขียว บรอคโคลี เมล็ดวอลนัท ถั่วเหลือง รวมถึงน้ำมันถั่วเหลืองด้วย ซึ่งชื่อของโอเมก้า 3 กลุ่มนี้คือ กรดแอลฟาไลโนเลนิก หรือ กรดไลโนเลนิก (α- LNA หรือ ALA) ซึ่ง α- LNA เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ และจะได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น แต่สำหรับ EPA และ DHAร่างกายสามารถเปลี่ยนจาก α- LNA ไปเป็น EPA และ DHA ได้
ประโยชน์ของ โอเมก้า 3
การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเหมาะสม จะทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ประโยชน์ของโอเมก้า 3 มีดังนี้
- โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อการสร้างผนังเซลล์ มีประโยชน์ต่อระบบประสาทและสายตา
- โอเมก้า 3 มีส่วนช่วยพัฒนาสมองในด้านการเรียนรู้ และการจดจำ
- โอเมก้า 3 มีส่วนช่วยลดอาการผิดปกติบางอย่างได้ เช่น คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ช่วยการทำงานของระบบฮอร์โมน และลดอาการภูมิแพ้ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยลดการตอบสนองของร่างกายต่ออาการอักเสบอีกด้วย
- โอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในการลดการอุดตันของหลอดเลือด ซึ่งช่วยลดอาการหัวใจวายและสมองขาดเลือดได้
Integrative Medicine Access สถาบันวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวไว้ว่า ร่างกายคนเราควรได้รับ α-LNA ซึ่งมีอยู่ในพืช อย่างน้อย 2,220 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วน EPA และ DHA ที่ได้จากในปลาทะเลนั้น ควรรับประทานอย่างน้อย 220 มิลลิกรัมต่อวัน หรือบริโภคปลาทะเล 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ที่มา : AHA Scientific Statement: Fish Consumption, Fish Oil, Omega-3 Fatty Acids and Cardiovascular Disease, #71-0241 Circulation. 2002;106: 2747 – 2757)